ไรแดงแอฟริกัน
ชื่อสามัญ (ไทย) : ไรแดงแอฟริกัน
ชื่ออื่น : ไรแดง
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : African red mite (อ่านออกเสียงว่า; แอฟริเคิน เรดไมท์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ????????????? ????????? Tucker

ไรแดงแอฟริกัน​ หรือไรแดง ไรศัตรูพืชที่ทำลายใบแก่ของทุเรียนในฤดูแล้ง หรือช่วงฝนทิ้งช่วง ไรแดงชนิดนี้สร้างความต้านทานต่อสารกำจัดไร (ดื้อยา) ได้หลายชนิด ไรแดงแอฟริกันจัดอยู่​ในสกุลไรแดง​ หรือไรแมงมุม​ วงศ์​ “เตตระไนชิดี้ /Tetranychidea” เป็นไรศัตรูพืชวงศ์ใหญ่ มีไรแดงที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น ไรแดงมะม่วง ไรแดงหม่อน ไรแดงชา ไรแดงชมพู่ ไรแดงกระเจี๊ยบ ไรสองจุด ไรเหลืองส้ม ไรแมงมุมเผือก ไรแมงมุมคันซาวา ไรแมงมุมฟิจิ ไรแมงมุมอ้อย เป็นต้น

การระบาดของไรแดงแอฟริกันในทุเรียนภาคตะวันออก​​ ปกติมักพบการระบาดช่วงปลายปี​ต่อต้นปี​ (ต.ค.-มี.ค.)​ ส่วนพื้นที่ภาคใต้ พบมากช่วงต้นปี (ธ.ค.-เม.ย.) ระบาดที่รุนแรงและมีความต่อเนื่องมักเป็นพื้นที่ติดสวนยางพารา เนื่องจากยางพาราเป็นพืชอาหารที่สำคัญของไรแดงแอฟริกันเช่นกัน แต่เนื่องด้วยสวนยางพาราไม่มีการพ่นสารกำจัดไร ทำให้เกิดการสะสมของไรแดงและเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ที่สำคัญ ในช่วงที่สภาพอากาศแห้ง มีลมแรง จะเป็นตัวช่วยให้ไรแดงเคลื่อนย้ายจากสวนยางพารามาสู่สวนทุเรียน โดยมักเริ่มระบาดตามขอบสวนทุเรียนด้านที่ติดสวนยางก่อน นอกจากนี้สัตว์ปีก เช่น นก และไก่ ก็เป็นพาหะนำไรแดงได้เช่นกัน

ไรแดงแอฟริกัน ปกติจะเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบแก่บริเวณหน้าใบ ยกเว้นในกรณีที่ระบาดรุนแรงอาจพบบนใบเพสลาด หรือใบแก่ตามใต้ใบ และในบ้างครั้งก็พบที่ผลแก่ของทุเรียนเช่นกัน การเข้าทำลายของไรแดงจะทำให้ต้นปลูกใหม่ชะงักการเจริญเติบโต ส่วนในทุเรียนที่กำลังจะออกดอก ติดผล จะทำให้การออกดอก ติดผลลดลง ใบที่ถูกทำลายจะมีอายุสั้นลงและร่วงหล่นก่อนกำหนด

การดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบทุเรียน ไรแดงจะใช้ปากที่มีลักษณะเป็นเข็มแหลม (stylets) แทงเข้าสู่เซลล์พืชและดูดของเหลวภายใน การแทงและดูดกินของเหลวนี้จะเป็นลักษณะแทงเข้า-ดึงออก ซึ่งจะทำให้ผิวใบสูญเสียคลอโรฟิลที่ใช้สังเคราะห์แสง ทำให้เป็นแผลจุดเล็ก ๆ สีซีดขาว การระบาดของไรจำนวนมากจะทำให้เกิดจุดซีดขาวนี้ตามหน้าใบเป็นบริเวณกว้าง มองดูจะคล้ายใบซีดขาวเป็นปื้น ในกรณีที่สวนทุเรียนขาดน้ำในฤดูแล้งรอยซีดขาวนี้จะแสดงอาการรุนแรงกว่าปกติ โดยอาจทำเกิดอาการไหม้เป็นแผลสีน้ำตาลอมม่วงตามหน้าใบ ซึ่งเป็นผลมาจากสารพิษ (toxin) เมื่อไรแดงแทงปากที่เป็นเข็มแหลมเข้าสู่เซลล์พืชจะปลดปล่อยสารพิษเข้าสู่เซลล์ สารพิษจะทำปฏิกิริยากับของเหลวภายในเซลล์จึงทำให้เกิดอาการไหม้ดังกล่าว ในพืชบางชนิดที่อ่อนแอต่อสารพิษ เช่น ไรแมงมุมแปซิฟิค (??????????? ?????????) เพียง 2-3 ตัว สามารถทำให้ใบสาลี่มีอาการแผลไหม้สีดำคล้ายถูกน้ำร้อนลวกได้

หลังจากไรแดงเข้าทำลายใบทุเรียน 7-10 วัน จะเริ่มพบคราบฝุ่นประปนกับอาการใบซีดขาว ซึ่งคราบฝุ่นนี้เป็นผลมาจากการลอกคราบของไรแดงในวัยตัวอ่อน โดยก่อนการลอกคราบแต่ละครั้งไรแดงจะหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวและกินอาหาร จากนั้นจะค่อย ๆ สร้างผนังนำตัวใหม่ที่ประกอบด้วยสารไคตินขึ้นมาภายใต้ผนังลำตัวเก่า แล้วจึงค่อย ๆ ลอกคราบผนังลำตัวเก่าออก ไรแดงจะลอกคราบ 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 3 หลังจากลอกคราบจะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย

ไรแดง หรือไรแมงมุม ในวงศ์เตตระไนชิดี้ ส่วนมากจะมีการสืบพันธุ์แบบ arrhenotokous parthenogenesis คือ ผสมพันธุ์ระหว่างเพศผู้และเพศเมีย และไม่ต้องผสมพันธุ์ โดยไรแดงเพศเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์จะวางไข่และให้ลูกไรแดงที่เป็นเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งมีอัตราเกิดเป็นเพศผู้ต่อเพศเมีย คือ 1 : 3 ถึง 1 : 9 ส่วนไรแดงเพศเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ จะให้ลูกเป็นไรแดงเพศผู้เท่านั้น

วงจรชีวิตของไรแดงแอฟริกัน มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 15-17 วัน โดยเพศเมียจะมีอายุยืนยาวกว่าเพศผู้
ตัวเต็มวัย : ไรแดงแอฟริกัน จะใช้เวลาเจริญพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยนับตั้งแต่วางไข่ จนถึงเป็นตัวเต็มวัย ประมาณ 9 วัน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยเพศผู้จะมีอายุราว 6 วัน ส่วนเพศเมีย 8 วัน เพศเมีย 1 ตัวสามารถวางไข่ได้ 14-15 ฟอง
ไข่ : ไข่ไรแดงมีลักษณะกลม ไรแดงเพศเมียวางไข่บนหน้าใบ และใช้เวลาฟักไข่ 4-5 วัน
ตัวอ่อน : ตัวอ่อนมีทั้งหมด 3 วัย ใช้เวลาพัฒนาจากตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย ราว 4-5 วัน

การกำจัดไรแดงแอฟริกัน
ในสภาวะฝนทิ้งช่วง ชาวสวนควรหมั่นเฝ้าสังเกตการณ์การแพร่ระบาดของไรแดง โดยจะมองเห็นไรแดงตามหน้าใบเป็นจุดเล็ก ๆ เท่าปลายปากกา เป็นสีแดง สีส้มหรือแดงเข้มเกือบดำ

เมื่อพบการระบาด ยักษ์ใหญ่แนะนำ พ่น “ไมท์แมน” สารกำจัดไร กลุ่ม 21A ที่มีคุณสมบัติ... ดังนี้
ออกฤทธิ์กินตาย ถูกตัวตาย
ออกฤทธิ์เร็ว
ละลายง่าย ไม่ตกตะกอนและอุดตันหัวพ่น
กำจัดไรทุกระยะ ทั้ง ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างพลังงานของไร
รบกวนระบบการหายใจ ที่เกี่ยวของกับการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน
ไรแดงขาดพลังงาน หยุดเคลื่อนไหว
ไรแดงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตายในที่สุด

ยักษ์ใหญ่ แนะนำพ่น “ไมท์แมน” อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 100-200 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ในพื้นที่ที่ไรแดงยังไม่สร้างความต้านทาน

กรณีเป็นพื้นที่พบการระบาดรุนแรง หรือไรแดงสร้างความต้าน พ่น “ไมท์แมน” อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 200-300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

โดยพ่น “ไมท์แมน” ต่อเนื่อง 2 ครั้ง ทุก 5-7 วัน หลังจากนั้นจึงสลับกลุ่มสารกำจัดไร ด้วย “เมอร์เล็ท” หรือ “เอเจนต้า”
อัตรา 30-35 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 300-350 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

หรือ พ่นสลับด้วย “แอ็กนิส” อัตรา 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 300-400 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

การกำจัดไรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรผสมไมท์แมน, เมอร์เล็ท, เอเจนต้า หรือ แอ็กนิส ร่วมกับไวท์ออยล์ อัตรา 40-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
*การผสมไวท์ออยล์ ควรมีความระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรผสมร่วมกับกำมะถัน คอปเปอร์ โพรพาไกต์ หรือยาน้ำมันอื่นเพิ่มเติมจากที่แนะนำ


จำนวนผู้เข้าชม : 1984726 ครั้ง

แผนผังเว็บไซต์