โรคราใบติดในทุเรียนเกิดจากเชื้อรา “ไรซอกโทเนีย” พบมากในฤดูฝน พื้นที่ที่มีความชื้นสูงและทรงพุ่มแน่นทึบ เป็นโรคที่ค่อนข้างร้ายแรงชนิดหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ทำให้ต้นทุเรียนถึงตายโดยตรงก็ตาม แต่เป็นโรคที่ทำให้ต้นทุเรียนทรุดโทรม เสียทรงต้น เป็นเหตุให้กิ่งใหญ่ๆตายและทำให้ผลผลิตลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุเรียนทุกพันธุ์

ลักษณะอาการ

            โดยเชื้อราจะเข้าทำลายได้ดีในช่วงที่ใบอ่อนคลี่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดได้กับกิ่งหรือใบที่โน้มลงมาติดกับดินหรือบริเวณที่พุ่มหนาอากาศถ่ายเทไม่ดี สภาพความชื้นสูงอีกด้วย ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาลอ่อน ซึ่งแผลขยายใหญ่ขึ้น รูปร่างไม่แน่นอนคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เมื่อใบเริ่มแก่แผลก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล อาการไหม้อาจจะเกิดบริเวณขอบใบด้านปลายใบ กลางใบหรือไหม้ทั้งใบ ใบที่อยู่ใกล้เคียงอาจจะถูกทำลายโดยเชื้อราจะสร้างเส้นใยเข้าทำลายและยึดใบให้อยู่ติดกันเป็นกลุ่มหรือเป็นแผง โดยจะสังเกตเห็นใยสีน้ำตาลอ่อนยึดอยู่เป็นแผงระหว่างใบ ในที่สุดใบที่ถูกทำลายจะร่วงหล่นเหลือแต่กิ่งทำให้ต้นทรุดโทรม และใบร่วงนี้จะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคด้วย อาการดังกล่าวมักเกิดเป็นกิ่งๆ หรือซีกใดซีกหนึ่ง หรืออาจเกิดทั้งต้นก็ได้

การป้องกันกำจัดโรค

  1. ควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง ถ้าทรงพุ่มหรือกิ่งอยู่ชิดเสียดสีกันจะทำให้โรคแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น เมื่อพบใบที่เป็นโรคให้รีบตัดเผาทำลายทิ้งเสีย ส่วนเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้นควรจะรวบรวมนำมาเผาทำลาย เพื่อลดการสะสมของเชื้อราที่จะทำให้การระบาดของโรคในปีต่อไปลดน้อยลง
  2. โรคใบติดทุเรียนมักพบในระยะทุเรียนแตกใบอ่อน โดยเฉพาะช่วงฝนชุก ดังนั้น ในระยะนี้ควรพ่นสารป้องกำจัดโรคพืช เพื่อป้องกันโรคราใบติด ด้วย แอ็กโซน (difenoconazole 15%+propiconazole 15% EC) อัตรา 10-12 มล. หรือ แอ็กวิล (hexaconazole 5% SC ) อัตรา 20-30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน และควรผสมร่วมกับ เดซี่ (propineb 70% WP) อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ มาเฟอร์ (mancozeb 80% WP) อัตรา 40-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อราดื้อยา
  3. หากสำรวจพบการระบาดของโรค พ่นด้วย แอ็กโซน (difenoconazole 15%+propiconazole 15% EC) อัตรา 10-15 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับ เดซี่ (propineb 70% WP) อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ มาเฟอร์ (mancozeb 80% WP) อัตรา 40-60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อราดื้อยาและต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน

(การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แนะนำให้ผสมสารเสริมประสิทธิภาพ คอมโบเนนท์บี อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วยทุกครั้ง)

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

 


จำนวนผู้เข้าชม : 1925050 ครั้ง

แผนผังเว็บไซต์