บั่ว หรือ แมลงบั่ว (Rice gall midge, RGM) เป็นแมลงศัตรูข้าวรูปร่างคล้าย “ยุง” ที่สำคัญ มักพบการระบาดตั้งแต่เริ่มฤดูหนาว จนถึง ปลายฤดูหนาว บั่วตัวเต็มวัย (วัยเจริญพันธุ์) ไม่ได้เข้าทำลายข้าวโดยตรง แต่เป็นตัวหนอน (วัยตัวอ่อน) ที่เข้าทำลายกัดกินชอนไชภายในหน่อข้าว ทำให้หน่อที่เจริญต่อมา มีลักษณะคล้าย “หลอดหอม (ต้นหอม)”

--.png - 154.23 kB

บั่ว เป็นแมลงกลางคืน มีพฤติกรรมส่วนใหญ่ในตอนกลางคืน เช่น การจับคู่ผสมพันธุ์ การวางไข่ พบการระบาดของบั่วได้ทั่วไปในระยะข้าวเริ่มแตกกอ หรือหลังหว่านข้าว 20-30 วัน ต้นข้าวที่ถูกตัวหนอนบั่วกัดกิน ต้นข้าวนั้นจะแคระแกร็น ลักษณะคล้ายหลอดหอม และไม่ออกรวงข้าว

---_0.png - 336.00 kB---.png - 253.54 kB

เกษตรกร ควรหมั่นสำรวจข้าวในช่วงข้าวเริ่มแตกกอ และหากพบการระบาด ควรพ่นด้วย เมอร์เล็ท (ไตรอะโซฟอส 40% W/V EC) หรือ เอเจนต้า (โพรฟีโนฟอส 50% W/V EC) อัตรา 40-60 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ และกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบรอบ ๆ แปลงข้าว ด้วย โคเสท (กลูโฟซิเนต – แอมโมเนียม 15% W/V SL)   อัตรา 150-200 มล. ต่อน้ำ 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน เพื่อกำจัดแหล่งหลบอาศัยและ​แพร่พันธุ์​ของบั่วต่อไป

 

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

1614670175247.jpg - 345.56 kB


Number of visitors : 1912652 Views

Sitemap