เพลี้ยไฟข้าว
ชื่อสามัญ (ไทย) : เพลี้ยไฟข้าว
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ : เพลี้ยไฟ
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : rice thrips (อ่านออกเสียงว่า; ไรซ์ ทริพซ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ???????????????? ???????? (Bagnall)

เพลี้ยไฟข้าว เป็นเพลี้ยไฟที่อยู่ในวงศ์ ทริพิดี้ /Thripidae อันดับ ไทซานอฟเทอร่า /Thysanoptera เช่นเดียวกับเพลี้ยไฟชนิดอื่น ๆ ที่เรารู้จัก เช่น เพลี้ยไฟพริก เพลี้ยไฟหอม หรือเพลี้ยไฟเมล่อน เพลี้ยไฟมะม่วง เพลี้ยไฟมังคุด เพลี้ยไฟฝ้าย เพลี้ยไฟกล้วยไม้ เป็นต้น

เพลี้ยไฟ เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็กมาก มักแพร่ระบาดมากในช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงฝนทิ้งช่วง มีเพลี้ยไฟบางชนิดที่เป็นพาหะนำโรคไวรัสในพืช แต่เพลี้ยไฟข้าวไม่เป็นพาหะนำไวรัส

หากมองด้วยตาเปล่า เพลี้ยไฟข้าววัยตัวอ่อนจะมีสีเหลืองอ่อน คล้าย ๆ เพลี้ยไฟชนิดอื่น ๆ แต่ในตัวเต็มวัยจะมีสีดำเข้มคล้ายเพลี้ยไฟโกโก้ แต่มีขนาดตัวที่เล็กกว่า

เพลี้ยไฟข้าว นอกจากมีข้าวเป็นพืชอาหารแล้ว ในช่วงที่ไม่มีการทำนา เพลี้ยไฟข้าวอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากวัชพืชใบแคบหลายชนิด โดยเฉพาะหญ้าข้าวนก

ปัจจุบันจะพบว่าเพลี้ยไฟข้าว เริ่มระบาดในนาตั้งแต่ข้าวเริ่มงอก 3-4 วัน ในนาหว่านน้ำตม และนาหว่านข้าวแห้ง ส่วนนาดำมักเริ่มพบการระบาดหลังข้าวเริ่มตั้งตัวแต่แตกใบอ่อน หลังว่าข้าว 10-14 วัน ในสภาวะอากาศแห้ง ฝนที่ช่วง หรือนาขาดน้ำการระบาดของเพลี้ยไฟข้าวจะรุนแรงมาก

การเข้าทำลายข้าวของเพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย การดูดกินนำเลี้ยงนี้จะทำให้ใบข้าวเป็นรอยขีดเล็ก ๆ สีขาวตามหน้าใบ ต่อมาขอบใบข้าวจะม้วนงอเข้าหาหน้าใบ หากการระบาดยังคงต่อเนื่องจะทำให้ปลายใบซีดขาว หรือปลายใบเหลือง และเฉา โดยปกติเพลี้ยไฟข้าวจะหลบแดด และอากาศร้อนตามซอกใบ กาบใบข้าว และการระบาดจะลดลงเมื่อข้าวแตกกอหนาขึ้น

เพลี้ยไฟข้าวตัวเต็มวัย จะว่างไข่ในเนื้อเยื้อใบข้าว และเข้าดักแด้ในดินหรือเศษซากพืชชากสัตว์

วงจรชีวิตของเพลี้ยไฟข้าว มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30-35 วัน
ตัวเต็มวัย : มีอายุราว 13 วัน เพศเมียวางไข่ 27-28 ฟอง ต่อตัวตลอดช่วงชีวิต
ไข่ ตัวอ่อน และดักแด้ : หลังจากเพศเมียวางไข่ จะใช้เวลาราว 17 วัน พัฒนาเป็นตัวเต็มวัย

การกำจัดเพลี้ยไฟข้าว
ยักษ์ใหญ่ แนะนำ พ่น “แอ็กมิดา70” สารกำจัดแมลง กลุ่ม 4A ที่มีคุณสมบัติสำคัญ คือ...
ออกฤทธิ์ดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว
แทรกซึมจากหน้าใบสู่ใต้ใบ
เคลื่อนย้ายในต้นพืชได้ดี
เม็ดเกล็ดละลายน้ำง่าย ไม่ฟุ้งกระจาย
ออกฤทธิ์ทั้งทางสัมผัส กินตาย ถูกตัวตาย
ทำลายระบบประสาทส่วนกลางของเพลี้ยที่บริเวณปลายประสาท
ยับยั้งการส่งกระแสประสาท และการกระแสประสาทผิดปกติ เกิดการอั้นของกระแสประสาท
เพลี้ยเกิดอาการเกร็ง ชักกระตุก หยุดการเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่าง ๆ
เพลี้ยเป็นอัมพาตและตายอย่างรวดเร็ว

พ่น “แอ็กมิดา70” อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 50-100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร
การพ่น “แอ็กมิดา70” พี่น้องชาวนาสามารถผสมร่วมกับ ยาคุมเลน หรือยาคุม-ฆ่าหญ้าได้

กรณี ทำนาในพื้นที่แล้ง ขาดน้ำ ฝนทิ้งช่วง หรือหว่านข้าวทีหลังแปลงอื่น ๆ ในบริเวณใกล้ ที่พบการระบาดของเพลี้ยไฟ
ยักษ์ใหญ่ แนะนำ ควรพ่น “แอ็กมิดา70” พร้อมกับยาคุมเลน “บิวซ่า หรือ วินวีด” ตั้งแต่หลังหว่านข้าว 3-4 วัน

และอีกช่วงที่ควรพ่น คือ ช่วงข้าวอายุ 7-12 วัน หลังหว่าน โดยพ่น “แอ็กมิดา70” พร้อมกับยาคุม-ฆ่าหญ้า “คอสโซน”

 


Number of visitors : 1654680 Views

Sitemap