ไรศัตรูมะพร้าว (Mites)

มะพร้าวน้ำหอม ถือเป็นอีกหนึ่งผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทยและเป็นผลไม้ที่มีความนิยมในตลาดโลก ทั้งตลาดบริโภคสดและแปรรูป เว็บไซด์ bangkoobiznews.com ระบุว่า ในปี 2563 มีการส่งมะพร้าวน้ำหอมส่งออกถึง 370 ล้านผล มีมูลค่ามากกว่า 8,000 ล้านบาท โดยมีคู่แข่งที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศจีน ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์

 ตลาดส่งออกมะพร้าวน้ำหอมที่ดูสดใส จึงมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งดูจะสวนทางกับพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวกะทิที่ลดลง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวทุกชนิด ราว 1.3 ล้านไร่ (ปี 2532 มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 2.59 ล้านไร่) เมื่อการเพาะปลูกมะพร้าวมีความต้องการมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ปัญหาศัตรูพืช โดยในช่วงที่ผ่านมาศัตรูพืชที่เป็นปัญหาหลัก คงหนีไม่พ่น “หนอนหัวดำมะพร้าว”

 แต่ทราบหรือไม่ว่า ในช่วง 2-3 ปีมานี้ มะพร้าวและพืชตระกูลปาล์มกำลังมีศัตรูหน้าใหม่ “ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า” กว่าจะรู้ตัว เปลือกของผลมะพร้าวก็เสียหาย เป็นแผลเหวอะหวะและที่สำคัญหากระบาดรุนแรง จะทำให้จั่นมะพร้าวไม่ติดผล หรือผลอ่อนร่วงหล่น ใช้แล้วเรากำลังพูดถึง “ไรศัตรูมะพร้าว ภัยเงียบที่มองไม่เห็น

ไรศัตรูมะพร้าว.. ภัยเงียบที่มองไม่เห็น !!

ไรศัตรูมะพร้าว เป็นแมงขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จึงเป็นเรื่องยากที่จะสังเกตการระบาด แต่หากเราเข้าใจพฤติกรรมการเข้าทำลายของไรศัตรูมะพร้าว ก็จะช่วยให้เราคาดการณ์ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการป้องกันได้ ไรศัตรูมะพร้าว สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม ตามลักษณะการเข้าทำลายมะพร้าว คือ ไรที่เข้าทำลายใบ (ไรแมงมุมเทียมปาล์ม และไรแมงมุมฟิจิ) และไรที่เข้าทำลายผล ในที่นี้เราจะมาทำความรู้จักกับไรศัตรูมะพร้าว กลุ่มที่ 2

ไรศัตรูมะพร้าว ที่เข้าทำลายผลมะพร้าว มี 3 ชนิด คือ

  1. ไรสี่ขามะพร้าว (Coconut mite): ชื่อวิทยาศาสตร์ Aceria guerreronis Keifer, 1965 อยู่ในวงศ์ Eriophyidae เป็นไรสีขา ลำตัวคล้ายหนอน ตัวเล็กระดับไมครอน วงจรชีวิต ราว 7-8 วัน ต่อรุ่น
  2. ไรสี่ขาโคโลเมรัส (New Hebrides coconut mite): ชื่อวิทยาศาสตร์ Colomerus novahebridensis Keifer อยู่ในวงศ์ Eriophyidae เป็นไรสี่ขาและลำตัวคล้ายหนอนเช่นเดียวกับไรสี่ขามะพร้าว วงจรชีวิต ราว 7-8 วัน ต่อรุ่น
  3. ไรขาว: ชื่อวิทยาศาสตร์ Steneotarsonemus furcatus DeLeon อยู่ในวงศ์ Tarsonemidae ไรขาวชนิดนี้เป็นไรศัตรูพืชที่พบใหม่ เป็นคนละชนิดกับไรขาวพริก พบระบาดมากในมะพร้าว ในบราซิลมีรายงานเข้าทำลายข้าวทั้งใบและเมล็ดข้าว

ลักษณะการเข้าทำลาย

ไรศัตรูมะพร้าวที่เข้าทำลายผล จะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่เริ่มมีการติดผล ผลอ่อนและเข้าทำลายผลเกือบทุกผลในทะลาย บางครั้งพบว่าเข้าทำลายมะพร้าวตั้งแต่ระยะแทงจั่น ทำให้ดอกร่วงหล่น ไม่ติดผล ไรศัตรูมะพร้าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้กลีบเลี้ยงของผล แผลระยะแรกมองดูคล้ายอาการแดดเลียใกล้บริเวณกลีบเลี้ยง ต่อมาเมื่อผลขยายขนาดขึ้นจะเห็นเป็นแผลแตกเป็นริ้วสีน้ำตาล เป็นแผลร่องลึก หากเข้าทำลายระยะผลอ่อนรุนแรง จะทำให้ผลชะงักการเจริญ ผลเล็ก ขนาดไม่ตรงตามความต้องการของตลาด ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ผลร่วงหล่นเสียหายและผลที่ไม่ร่วงจะเล็กลีบไม่ได้ขนาดจนไม่สามารถจำหน่ายได้ 

การป้องกันและกำจัด

ระยะมะพร้าวแทงจั่น ถึงติดผลอ่อน (เว้นระยะดอกบาน) พ่นด้วย ไมท์โกร (ไพริดาเบน 13.5% EC /สารกำจัดไรศัตรูพืช กลุ่ม 21A) อัตรา 20-25 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไมท์แมน (ไพริดาเบน 20% WP /สารกำจัดไรศัตรูพืช กลุ่ม21A) อัตรา 10-15 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมร่วมกับสารเสริมประสิทธิภาพ คอมโปเนนท์-บี อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน

ระยะผลขยายขนาด พ่นด้วย สปาตั้น (กำมะถัน 80% WG /สารป้องกันกำจัดโรคพืช กลุ่ม M2) อัตรา 60-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10-14 วัน

 

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง


Number of visitors : 1953450 Views

Sitemap