“โคเสท” ทางเลือกใหม่ (ทดแทนยาฆ่าหญ้าเผาไหม้) ในการกำจัดวัชพืช 

หลังจากมีประกาศแบน พาราควอต หรือยาฆ่าหญ้าเผาไหม้ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2563 ที่ผ่านมา เกษตรกรที่ทำนาข้าว พืชผัก พืชไร่และไม้ผล คงกำลังมองหาสารกำจัดวัชพืชทดแทน ที่มีประสิทธิภาพเหมือนหรือใกล้เคียงกับพาราควอตอยู่เป็นแน่ และสารทางเลือกหนึ่งที่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพใกล้เคียง แม้จะไม่สามารถเทียบเท่าได้ อย่างสารกลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม ก็เป็นสารกำจัดวัชพืชที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก จากคุณสมบัติบางประการของสาร คือ มีฤทธิ์ในทางสัมผัส (contact action) และไม่ดูดซึมผ่านทางราก หรือกล่าวง่าย ๆ คือ มีฤทธิ์ใกล้เคียงเผาไหม้นั้นเอง งั้นเราลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารกลูโฟซิเนตเพิ่มมากขึ้น 

สารกลูโฟซิเนต ที่จัดจำหน่ายโดย บริษัท แอ็กโกร (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้แบรนด์การค้า ยักษ์ใหญ่ มีชื่อการค้าว่า โคเสท โดยบริษัทฯ นำเข้า ผลิตและจำหน่ายสารกลูโฟซิเนทที่ได้รับทะเบียนฯ ถูกต้องจากกรมวิชาการเกษตร ทะเบียนเลขที่ 171-2562 ชื่อสามัญ (เต็ม) โคเสท คือ กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม 15% W/V SL เป็นสูตรสารละลายของเหลวสีฟ้าใส ผลิตจากเนื้อเทคตั้งต้นเข้มข้น จนเป็นโคเสทที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชสูง แม้พ่นในอัตราต่ำ โดยอัตราแนะนำขั้นต้น คือ 150-200 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน สำหรับวัชพืชที่มีความสูงไม่เกิน 30 เซนติเมตร  

 

โคเสท หรือสารกลูโฟซิเนต เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบไม่เลือกทำลาย ในกลุ่ม phosphinic acid กำจัดหรือฆ่าหญ้าทุกชนิดที่พ่นกำจัด ทั้งหญ้าใบแคบ เช่น หญ้าปากควาย หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกแดง ขจรจบ หญ้าแดง หญ้าโขย่ง หญ้าพง หญ้าปล้อง หญ้าใบกว้าง เช่น กระดุมใบใหญ่ ปอวัชพืช ผักโขม ผักเสี้ยน ไมยราบ โสน ถั่วผี ผักเบี้ย กระดุมใบเล็ก/ใหญ่ หญ้ากก เช่น กกขนาก กกทราย กกสามเหลี่ยม กกตุ้มหู แห้วหมู เป็นต้น  

 

โคเสท มีฤทธิ์ในทางสัมผัส จำกัดการทำลายเฉพาะส่วนที่สัมผัสสารเท่านั้น ไม่ดูดซึมผ่านทางราก ทำให้ปลอดภัยต่อพืชประธาน โดยสารจะยับยั้งการสังเคราะห์กลูตามีนทำให้เกิดการสะสมแอมโมเนียม ไอออน มากเกินปกติและยับยั้งการสังเคราะห์แสงของวัชพืช ทำให้วัชพืชค่อย ๆ แสดงอาการไหม้เฉา ใบเหลือง หลังจากพ่นโคเสท 3-5 วัน และวัชพืชเริ่มตายหลังพ่น 7-10 วัน การพ่น โคเสท ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรพ่นขณะดินไม่มีความชื้น แสงแดดจัด และปลอดฝน 6 ชั่วโมง 

 

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 


Number of visitors : 1913730 Views

Sitemap