เตือนภัย!! หนอนเจาะดอก-เจาะผลทุเรียน 

เตือนภัยชาวสวนทุเรียน เฝ้าระวังการระบาดของหนอนเจาะผลทุเรียน หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (หนอนใต้) และหนอนเจาะสมอฝ้าย เข้าทำลายดอกและผลทุเรียนในช่วงสภาพอากาศแห้ง ฝนทิ้งช่วง โดยหนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นหนอนที่มีรายงานพบการระบาดในสวนทุเรียน เมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2563) ซึ่งสร้างความเสียหายต่อทุเรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากหนอนชนิดนี้ สร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง (ดื้อยา) หลายชนิด เพราะหนอนเจาะสมอฝ้ายมีพืชอาหารหลายชนิดและเกษตรกรมีการพ่นสารกำจัดแมลงอย่างเข้มข้นมาก่อนที่หนอนชนิดนี้จะระบาดในทุเรียน ต่อไปนี้เราจะมาทำความรู้จักกับหนอนทั้ง 3 ชนิด มากขึ้น 

 

หนอนเจาะสมอฝ้าย (cotton ballworm) มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Helicoverpa armigera (Hubner) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามส่วนอ่อนของพืช โดยพบเริ่มเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ระยะดอกมะเขือพวง หนอนเจาะสมอฝ้ายเริ่มระบาดทำความเสียหายในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 และพบระบาดติดต่อกันทุกปี หนอนชนิดนี้ เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของมะเขือเทศ พืชอาหารของหนอนมีหลากหลาย เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา พริก มะเขือ กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน มะม่วงหิมพานต์ สตรอเบอรี่ กุหลาบ เบญจมาศ คาเนชั่น เยอบีร่า ถั่วเหลือง ถั่ว เขียวข้าวโพด ยาสูบ ฝ้าย และปอกระเจา เป็นต้น  

 

หนอนเจาะผลทุเรียน หรือ หนอนเจาะผลละหุ่ง (fruit boring caterpillar) มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Conogethes punctiferalis (Guenee) หนอนเจาะผลเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก อายุประมาณเดือนครึ่ง ไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ทำให้ผลเน่าและร่วง ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก มักวางไข่บริเวณเปลือกผลที่ติดกัน ตัวหนอนที่ฝักออกมามีลำตัวสีขาว และเริ่มแทะกินผิวเปลือกทุเรียนก่อน เมื่อโตขึ้นจะเริ่มเจาะกินเข้าไปภายในผล ภายนอกผลจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และมักจะมีน้ำไหลเยิ้มออกมา พืชอาหารอื่น ๆ ของหนอน เช่น เงาะ ลำไย ทับทิม ละหุ่ง ขิง ลิ้นจี่ หม่อน และโกโก้ เป็นต้น และ 

 

หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หรือ หนอนใต้ หนอนมาเลย์ หนอนรู (Durian seed borer) มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mudaria luteileprosa Holloway พบหนอนเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อน อายุเดือนเศษเป็นต้นไป หนอนเมื่อเจาะเมล็ดภายในผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากผิวเปลือกภายนอกได้ จนเมื่อหนอนก่อนเข้าดักแด้จึงเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนดินเพื่อเข้าดักแด้ ชาวสวนจึงจะเห็นรู บ่อยครั้งพบหนอนติดไปกับผลทุเรียนจนถึงผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนและมีพืชอาหารเพียงทุเรียน 

 

การป้องกันกำจัด 

ระยะดอกมะเขือพวง ถึง ผลอายุเดือนครึ่ง พ่นป้องกันกำจัดด้วย อินโกร (อินดอกซาคาร์บ 15% W/V SC) อัตรา 15-20 มิลลิลิตร หรือ อินออน (อีมาเมกตินเบนโซเอต 5% SG) อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-14 วัน โดยงดเว้นพ่นระยะดอกขาวถึงดอกบาน 

ระยะผลอายุ 2 เดือนขึ้นไป พ่นป้องกันกำจัดด้วย เอเจนต้า (โพรฟีโนฟอส 50% W/V EC) อัตรา 25-30 มิลลิลิตร หรือ เมอร์เล็ท (ไตรอะโซฟอส 40% W/V EC) อัตรา 25-30 มิลลิลิตร หรือ โกรเมท50 (เพนโทเอท 50% W/V EC) อัตรา 25-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 10-14 วัน *โดยเฉพาะ โกรเมท50 จะช่วยขัดสีผิวเปลือกทุเรียนให้มีสีนวลสวยและสามารถไล่กระรอกหรือผีเสื้อมวนหวานได้ดีอีกด้วย 

ควรผสม คอมโปเนนท์บี อัตรา 10 มิลลิลิตร ร่วมด้วยทุกครั้ง เพื่อเพิ่มสารเสริมประสิทธิ์ภาพ 

 

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 


Number of visitors : 1911428 Views

Sitemap